เส้นแบ่ง (มุทราศาสตร์)
เส้นแบ่ง (มุทราศาสตร์)

เส้นแบ่ง (มุทราศาสตร์)

บทความนี้ใช้ภาษาที่เป็นศัพท์เฉพาะทางที่ความหมายส่วนใหญ่ต่างจากพจนานุกรมโดยทั่วไป จึงกรุณาอย่าลบภาษาอังกฤษที่ปรากฏออกแม้ว่าจะมีบทความที่เป็นภาษาไทย ทั้งนี้เพื่อช่วยในการอ่านบทความที่มีศัพท์ที่ว่านี้ หรือแปลบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเส้นแบ่ง (อังกฤษ: Line) ในมุทราศาสตร์ “เส้นแบ่ง” เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ใช้ในการแบ่งโล่ (division of the field) และการสร้างลายตรา (variations of the field) และ เครื่องหมาย (charges) ที่ใช้ในมุทราศาสตร์ ที่ตามปกติจะเป็นเส้นตรง แต่อาจจะมีหลายรูปหลายแบบ (การกำหนดชนิดของ “เส้นแบ่ง” บางครั้งต้องเป็นไปอย่างระมัดระวังระหว่างเส้นแบ่งตามธรรมเนียมที่ใช้กันมาและเส้นแบ่งที่แปลกออกไป และการแยกระหว่าง “เส้นแบ่ง” และ “เครื่องหมาย” เช่นในนิยาม “a mount [or triple mount] in base” (“เนิน [หรือเนินสามเนิน] ตอนล่าง”) หรือโดยเฉพาะในมุทราศาสตร์เยอรมันที่ใช้หยักเชิงเทินจากกำแพงเมืองในการเป็น “เส้นแบ่ง” หรือ “เครื่องหมาย”)ในสกอตแลนด์การใช้เส้นแบ่งมักจะใช้ในการแต่งเติมขอบโล่ (หรือเรขลักษณ์อื่นๆ) เพื่อให้ทำให้ตราเป็นเอกลักษณ์ (cadency) จากตราของประมุขเจ้าของตราอาร์มหลัก